เสริมกระบวนการเรียนรู้ในทุกจุดข้อมูล
แม้การใช้ 'บิ๊กดาต้า' อาจฟังดูยากลำบาก แต่บิ๊กดาต้าก็ได้พิสูจน์ตัวเองแล้ว ในฐานะหนึ่งในวิธีที่ครูและนักเรียนจะใช้ประโยชน์จากเนื้อหาการเรียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และช่วยทำให้กระบวนการเรียนรู้มีเอกลักษณ์ อย่างไม่เคยมีมาก่อน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่อุตสาหกรรมความรู้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างไทยและเวียดนาม ที่ซึ่งนักเรียน "อยากประสบความสำเร็จและต้องการ โอกาสทางอาชีพที่ดีขึ้น" ตามที่ Kayo Taguchi ผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอ ELT ของ Pearson Asia ได้กล่าวไว้ในพอดแคสต์ศาสตร์แห่งการเรียนรู้ของ Pearson ตอนที่เพิ่งออกอากาศไม่นานมานี้
รัฐบาลและสถาบันการเรียนรู้ของทั้งสองประเทศยังเปิดรับการเรียนที่เสริม ด้วยเทคโนโลยีเป็นอย่างดีอีกด้วย โดยเฉพาะในการด้านการสอน ภาษาอังกฤษ (English Language Teaching - ELT) ซึ่งจะช่วยให้สามารถ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนจากนักเรียนแต่ละคนได้ – โดยคำนึงถึงประเด็น ด้านความเป็นส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลส่วนตัวไม่ว่าจะในด้านใด – ผ่านสภาพแวดล้อมที่ทั้งเรียนและทดสอบไปพร้อมกัน ซึ่งจะช่วยสร้างเสริม ผู้เรียนที่มีแรงจูงใจในการเรียน และเปิดรับวิธีการสอนที่พัฒนาอย่าง ไม่หยุดยั้ง
ด้วยการผสมผสานสิ่งต่างๆ ที่ Pearson มีให้ อาทิเช่น สเกลระดับโลกของ ภาษาอังกฤษ ผู้สอนจะสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างโปรแกรมแบบ องค์รวมที่เชื่อมต่อทั้งโครงสร้างพื้นฐาน วิธีการและการประเมินผล และ พัฒนาวิธีการสอน และสร้างเสริมการเรียนรู้และความสำเร็จของนักเรียน อย่างวัดได้
สร้างเสริมผ่านวิธีการที่ทดลองและทดสอบแล้ว
งานวิจัยจำนวนมากได้บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการมอบข้อมูลที่สามารถนำไปจัดเรียงและวิเคราะห์เพื่อสร้างการเรียนรู้แบบเฉพาะบุคคลได้ให้กับทั้งผู้เรียนและผู้สอน
โดยงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้บิ๊กดาต้าเพื่อเสริมการเรียนรู้ได้บ่งชี้ว่าข้อมูล สามารถในเพื่อสร้างความรู้นั้นมีประโยชน์สำหรับผู้เรียนที่จัดการการเรียน ด้วยตนเอง และสำหรับผู้สอนเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอน นอกจากนี้ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการวิเคราะห์ข้อมูลยังช่วยให้สามารถ ทำเครื่องหมายและประเมินข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ผู้สอนสามารถ ออกแบบประสบการณ์ในการเรียนรู้ได้สำหรับนักเรียนแต่ละคน – และช่วยให้ กระบวนการเรียนรู้เป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพผ่านการติดตาม พัฒนาการและอัตราสำเร็จ
Pearson ได้บุกเบิกวิธีการที่ทรงประสิทธิภาพและเป็นองค์รวมซึ่งมุ่งเน้น ไปที่:
- การระบุปัญหา
- การติดตามอย่างต่อเนื่องผ่านการทดสอบ
- การแบ่งปันข้อมูลโดยยังคงไว้ซึ่งความเป็นส่วนตัว เพื่อระบุและ เสริมสร้างความคืบหน้าของผู้เรียน
เข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดและนำไปใช้ได้จริง
ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบจะช่วยให้ผู้อนเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของ นักเรียน และรูปแบบพฤติกรรมอื่นๆ เพราะการทดสอบจะเสนอข้อมูล ในรูปแบบที่ครูสามารถนำไปใช้ได้ทันทีด้วยการปรับเปลี่ยนสไตล์การสอน สภาพแวดล้อมของห้องเรียน และวิธีเข้าหานักเรียนแต่ละคน
โดยทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจะจัดประเภทการวัดผลการเรียนรู้ของนักเรียน ออกเป็นสองประเภท: การประเมินแบบสรุปผล ซึ่งรวมถึงกิจกรรมที่มี การตัดเกรด เช่น การทดสอบ ซึ่งจะสร้างความเข้าใจในการประสบผล สัมฤทธิ์ของนักเรียนแบบร่วมกันและคงที่ การประเมินแบบสร้างเสริมนั้น รวมถึงกิจกรรมในห้องเรียนประจำวันที่จะช่วยให้ครูและนักเรียนเข้าใจกันว่า เรียนสิ่งใดแล้วและยังไม่ได้เรียนสิ่งใดบ้าง และดำเนินการตามผลที่ได้ อย่างต่อเนื่อง
Stuart Connor ผู้อำนวยการฝ่ายคุณสมบัติและการประเมินของ Pearson Asia ได้กล่าวไว้ว่า "สิ่งที่ได้วิวัฒน์ไปแล้วคือแนวคิดที่ว่าทดสอบไปทำไม และทดสอบเพื่อจุดประสงค์ใด การประเมินที่ดีจะช่วยให้ครูเน้นที่การทดสอบ จัดการชั้นเรียนที่มีความสามารถผสมกัน และระบุและแก้ไขข้อผิดพลาดของ นักเรียนได้โดยง่าย
มีหลายปัจจัยที่ทำให้วิธีการสอนในชั้นเรียนที่อิงจากข้อมูลนี้เป็นไปได้ – การฝึกอบรมที่มากขึ้น ควบคู่กับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยให้ผู้สอนและผู้ดูแล ระบบย้ายไปมาระหว่างทรัพยากรและการทดสอบได้อย่างลื่นไหล และ การนำมาตรฐานทั่วไปมาใช้
ซึ่งช่วยให้พวกเขาเชื่อมความเกี่ยวข้องระหว่าง "การประเมินของการเรียนรู้" และ "การประเมินเพื่อการเรียนรู้" ได้ – ซึ่งก็คือความแตกต่างระหว่าง การเรียนเพื่อการทดสอบ และการทดสอบเพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
ตัวอย่างเช่น เครื่องมือต่างๆ เช่น โพลล์ออนไลน์ในห้องเรียนช่วยให้ครู สามารถวัดระดับการมีส่วนร่วมของนักเรียนและความเข้าใจของนักเรียน ต่อเนื้อหาที่กำลังสอนได้แบบเรียลไทม์ และเมื่อแอปพลิเคชันเรียนทางไกล ต่างๆ ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากโคโรนาไวรัส แอปเหล่านี้จึงเพิ่ม การทำโพลล์เข้ามาด้วยเพื่อให้ผู้สอนสามารถเก็บข้อมูลประสิทธิภาพ ในการเรียนของนักเรียนได้แม้จะไม่ได้เจอกันซึ่งหน้า
โดยสิ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงนี้คือเมื่อใช้เทคโนโลยี ครูและนักเรียน จะสามารถ "นำผลลัพธ์ไปใช้งานได้" ตามที่กล่าวโดย Kayo "เราตอบคำถามต่อไปนี้ได้: 'ขั้นต่อไปจะทำอะไรดี จะทำอย่างไรดี'" โดยเธอได้เสริมว่าอาจจะเป็นสิ่งที่ชัดเจน เช่นเป็นทักษะเฉพาะ หรืออาจ จะเป็นสิ่งที่ไม่ชัดเจนนัก เช่น การเปลี่ยนแปลงสไตล์การสอน "การเรียนรู้ จะมีจุดมุ่งหมายชัดเจนขึ้นเมื่อคุณเชื่อมบทเรียนและการประเมินเข้าด้วยกัน"
ผู้สอนยังได้รับความสามารถในการส่งการฝึกอบรม เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ ประสิทธิภาพจากระยะไกล ซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ Stuart กล่าวว่า "เรากำลังจะต้องเปลี่ยนวิธีการสอนไปโดยสมบูรณ์เนื่องจากโรคระบาด โคโรนาไวรัส ซึ่งทำให้เราใช้การเรียนออนไลน์และระยะไกลมากขึ้นอย่าง มหาศาล"
ติดตามความสำเร็จที่ทุกระดับ
การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจะเกิดขึ้นในหลายระดับ Stuart กล่าวว่า "การวิเคราะห์ข้อมูลมีความสำคัญมากต่อคุณภาพ จากมุมมองของ ผู้เรียนแล้ว...แค่ได้เห็นว่าตอนนี้อยู่ตรงไหน กำลังทำได้ในระดับไหน เมื่อเทียบกับ KPI หรือเป้าหมายที่ตั้งให้ตัวเอง – ต้องทำงานอีกเท่าไหร่ และต้องทำกิจกรรมเฉพาะอะไรบ้างเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย การที่สามารถ ดูข้อมูลเหล่านี้ได้ในรูปแบบตัวเลขหรือกราฟด้วยการคลิกแค่ปุ่มเดียวนั้น มันส่งผลอย่างมากเลยทีเดียว"
และยังช่วยให้ครูเข้าใจได้ว่าตอนนี้การสอนตรงตามการวางแผนการสอนหรือภาคเรียนหรือไม่อีกด้วย ที่ระดับสูง หัวหน้าแผนกจะดูได้ว่าแต่ละชั้นเรียน เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งช่วยให้ควบคุมและวัดคุณภาพและสร้างเสริมการพัฒนา ได้ เพื่อไม่ให้มีผู้เรียน ชั้นเรียน หรือแม้แต่ผู้สอนใดที่ตามไม่ทัน
Stuart กล่าวว่า "สำหรับสถาบันแล้ว หากกำลังต้องการที่จะลงทุนใน เทคโนโลยี ในทรัพยากรหรือการประเมิน ข้อมูลนี้จะบอกว่าการลงทุนนั้นได้ ผลตอบแทนกลับมามากน้อยเพียงใด เพราะจะสามารถวัดได้ว่าผู้เรียนพัฒนา ทักษะภาษาอังกฤษได้ดีขนาดไหน จึงเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญมาก"
การใช้ข้อมูลเพื่อพลังแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับโอกาส ในการดึงจุดเด่นของตนเองมาใช้ กับระบุและแก้ไขจุดด้อย เป็นการพัฒนา สำคัญในวิธีการสอนของครู และอาจส่งผลอย่างถาวรต่อการออกแบบและ สอนชั้นเรียน ELT