• ข้อได้เปรียบทางด้านวิชาชีพ: BTEC กำลังสร้างข้อได้เปรียบให้กับนักศึกษาไทยที่สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) อย่างไร

    image

    ในประเทศไทย ภาคการผลิตระดับสูงกำลังเฟื่องฟู การสนับสนุนของรัฐบาลมีส่วนกระตุ้นให้เกิด ความสนใจในการเรียนรู้เฉพาะทางด้านวิศวกรรม และคนไทยรุ่นใหม่จำนวนมากต่างมองหาอาชีพ ในสาขาที่เริ่มมีการแข่งขันกันสูงขึ้นเรื่อยๆ 

    สถาบันอุดมศึกษาของประเทศ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) จึงตอบสนองความต้องการดังกล่าวด้วยการสนับสนุนความสนใจที่เพิ่มสูงขึ้นนี้  

    จากการที่วิศวกรรุ่นใหม่จำนวนมากมุ่งให้ความสนใจในสาขาขั้นสูง เช่น นาโนเทคโนโลยี นักศึกษา ระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา STEM จึงต้องการหลักสูตรเพิ่มเติมที่ให้ความรู้เชิงปฏิบัติซึ่งมีความ จำเป็นอย่างมากและจะช่วยสร้างความได้เปรียบในตลาดงานได้  

    ความสนใจในการศึกษาเฉพาะทางที่เพิ่มมากขึ้นในสถาบันต่างๆ เช่น สจล. ได้ทำให้มีการนำหลัก สูตรด้านคุณวุฒิที่มีคุณภาพสูงและใช้งานได้จริงอย่าง BTEC มาปรับใช้มากขึ้น  

    โดยหลักสูตรที่มุ่งเน้นการให้ประสบการณ์และส่งมอบทักษะที่จะทำให้นักศึกษาเป็นที่ต้องการของ นายจ้างนี้ จะช่วยให้นักศึกษาที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในการทำงานจริงและการเรียนรู้เชิง ปฏิบัติได้รับคุณวุฒิที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยสร้างความแตกต่างได้อย่างแท้จริงเมื่อเข้าสู่โลกการทำงาน

     

    BTEC คืออะไร 

    นับเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้วที่คุณวุฒิของ BTEC ได้มอบทางเลือกที่น่าสนใจแทนรูปแบบการเรียนรู้ ดั้งเดิมที่มุ่งเน้นในเชิงวิชาการมากกว่า  

    คุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับทักษะในการทำงานและความรู้ในชีวิตจริงเหล่านี้มีความน่าสนใจมากกว่าสำหรับ นักศึกษาที่คำนึงถึงเรื่องเส้นทางอาชีพ และต้องการประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพที่ตนเลือก

    เช่น STEM สุขภาพ กีฬา ธุรกิจ ไอที อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และอีกมากมาย เนื่องจากหลักสูตร เน้นไปที่ “การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ” นักศึกษา BTEC จึงทำงานที่ได้รับมอบหมายซึ่งเกิดขึ้นจาก สถานการณ์จริงและสามารถนำสิ่งที่เรียนไปปฏิบัติได้ทันที 

    ฝ่ายนายจ้างเองก็จะได้รับผลประโยชน์เช่นกัน โดยจะมั่นใจได้ว่าผู้ที่จบใหม่จากหลักสูตร BTEC จะมีทั้งทักษะและประสบการณ์ตรงที่สามารถเริ่มทำงานได้ทันที นี่คือกลยุทธ์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว โดยข้อมูลจากทั่วโลกระบุว่า นักศึกษา BTEC กว่า 90% ได้รับการจ้างงานเต็มเวลาหลังจากสำเร็จ การศึกษา  

    หลักสูตรนี้ได้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการรวมภาษาอังกฤษเข้ากับคุณวุฒิทางเทคนิคและวิชาชีพ โดยให้กรอบการทำงานแก่ผู้สอนเพื่อทดลองและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในวิธีการสอน และนำเสนอ ทักษะที่หลากหลายให้กับนักศึกษาที่จำเป็นสำหรับการเติบโตในตลาดงานที่มีการแข่งขันสูงใน ปัจจุบัน  

     

    สจล. - ผู้ริเริ่มแห่งวงการการศึกษาไทย  

    สจล. ซึ่งเป็นสถาบันการวิจัยและการศึกษาในกรุงเทพฯ ได้ให้ความสำคัญกับ STEM เป็นอย่างมาก  อีกทั้งชื่อเสียงของสถาบันในการจัดการฝึกอบรมวิชาชีพที่มีคุณภาพยังทำให้เป็นพันธมิตรที่เหมาะ อย่างยิ่งในการนำร่องหลักสูตร BTEC Higher Nationals ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ให้คุณวุฒิด้านอาชีวศึกษ

    ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลเทียบเท่ากับสองปีแรกของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย สจล. เป็น ผู้ริเริ่มในวงการการศึกษาของไทยมายาวนาน รวมถึงการมอบปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นแห่งแรกของประเทศ และมีความเกี่ยวข้องกับเครือข่ายพัฒนาการศึกษาด้านวิศวกรรมเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (SEED-NET) อีกด้วย 

    read more
  • การมีทักษะภาษาอังกฤษมีประโยชน์อย่างไร

    image

    ผู้ที่มีทักษะภาษาอังกฤษจะได้รับผลตอบแทนในแง่ของชีวิตส่วนตัวและการประกอบวิชาชีพ   

    การมีทักษะภาษาอังกฤษไม่เพียงแค่เพิ่มโอกาสที่จะได้รับการว่าจ้างและเพิ่มศักยภาพในการหารายได้เท่านั้น แต่ยังช่วยขัดเกลาทักษะด้านอารมณ์และสังคม (Soft Skills) ที่สำคัญอีกด้วย

    เราเปิดเผยให้เห็นถึงประโยชน์ต่างๆ ในอินโฟกราฟิกด้านล่างนี้ 

    read more
  • เพราะเหตุใดการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์จึงเป็นอนาคตแห่งการเรียน การสอน

    image

    ในอินโฟกราฟิก นี้ เราจะมาสำรวจประสิทธิภาพของการทดสอบด้วย คอมพิวเตอร์ (computer-based testing - CBT) ความยุติธรรมของ การทดสอบ และเพราะเหตุใด CBT จึงเป็นอนาคตแห่งการทดสอบ

    สำรวจข้อมูลเชิงลึกด้านล่าง 

    read more
  • เสริมกระบวนการเรียนรู้ในทุกจุดข้อมูล

    image

    แม้การใช้ 'บิ๊กดาต้า' อาจฟังดูยากลำบาก แต่บิ๊กดาต้าก็ได้พิสูจน์ตัวเองแล้ว ในฐานะหนึ่งในวิธีที่ครูและนักเรียนจะใช้ประโยชน์จากเนื้อหาการเรียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และช่วยทำให้กระบวนการเรียนรู้มีเอกลักษณ์ อย่างไม่เคยมีมาก่อน 
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่อุตสาหกรรมความรู้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างไทยและเวียดนาม ที่ซึ่งนักเรียน "อยากประสบความสำเร็จและต้องการ โอกาสทางอาชีพที่ดีขึ้น" ตามที่ Kayo Taguchi ผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอ ELT ของ Pearson Asia ได้กล่าวไว้ในพอดแคสต์ศาสตร์แห่งการเรียนรู้ของ Pearson ตอนที่เพิ่งออกอากาศไม่นานมานี้  
     
    รัฐบาลและสถาบันการเรียนรู้ของทั้งสองประเทศยังเปิดรับการเรียนที่เสริม ด้วยเทคโนโลยีเป็นอย่างดีอีกด้วย โดยเฉพาะในการด้านการสอน ภาษาอังกฤษ (English Language Teaching - ELT) ซึ่งจะช่วยให้สามารถ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนจากนักเรียนแต่ละคนได้ – โดยคำนึงถึงประเด็น ด้านความเป็นส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลส่วนตัวไม่ว่าจะในด้านใด – ผ่านสภาพแวดล้อมที่ทั้งเรียนและทดสอบไปพร้อมกัน ซึ่งจะช่วยสร้างเสริม ผู้เรียนที่มีแรงจูงใจในการเรียน และเปิดรับวิธีการสอนที่พัฒนาอย่าง ไม่หยุดยั้ง 
     
    ด้วยการผสมผสานสิ่งต่างๆ ที่ Pearson มีให้ อาทิเช่น สเกลระดับโลกของ ภาษาอังกฤษ ผู้สอนจะสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างโปรแกรมแบบ องค์รวมที่เชื่อมต่อทั้งโครงสร้างพื้นฐาน วิธีการและการประเมินผล และ พัฒนาวิธีการสอน และสร้างเสริมการเรียนรู้และความสำเร็จของนักเรียน อย่างวัดได้ 

     
    สร้างเสริมผ่านวิธีการที่ทดลองและทดสอบแล้ว 

    งานวิจัยจำนวนมากได้บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการมอบข้อมูลที่สามารถนำไปจัดเรียงและวิเคราะห์เพื่อสร้างการเรียนรู้แบบเฉพาะบุคคลได้ให้กับทั้งผู้เรียนและผู้สอน 
     
    โดยงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้บิ๊กดาต้าเพื่อเสริมการเรียนรู้ได้บ่งชี้ว่าข้อมูล สามารถในเพื่อสร้างความรู้นั้นมีประโยชน์สำหรับผู้เรียนที่จัดการการเรียน ด้วยตนเอง และสำหรับผู้สอนเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอน นอกจากนี้ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการวิเคราะห์ข้อมูลยังช่วยให้สามารถ ทำเครื่องหมายและประเมินข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ผู้สอนสามารถ ออกแบบประสบการณ์ในการเรียนรู้ได้สำหรับนักเรียนแต่ละคน – และช่วยให้ กระบวนการเรียนรู้เป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพผ่านการติดตาม พัฒนาการและอัตราสำเร็จ 
     
    Pearson ได้บุกเบิกวิธีการที่ทรงประสิทธิภาพและเป็นองค์รวมซึ่งมุ่งเน้น ไปที่:  

    • การระบุปัญหา
    • การติดตามอย่างต่อเนื่องผ่านการทดสอบ
    • การแบ่งปันข้อมูลโดยยังคงไว้ซึ่งความเป็นส่วนตัว เพื่อระบุและ เสริมสร้างความคืบหน้าของผู้เรียน 

    เข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดและนำไปใช้ได้จริง 

    ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบจะช่วยให้ผู้อนเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของ นักเรียน และรูปแบบพฤติกรรมอื่นๆ เพราะการทดสอบจะเสนอข้อมูล ในรูปแบบที่ครูสามารถนำไปใช้ได้ทันทีด้วยการปรับเปลี่ยนสไตล์การสอน สภาพแวดล้อมของห้องเรียน และวิธีเข้าหานักเรียนแต่ละคน 
     
    โดยทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจะจัดประเภทการวัดผลการเรียนรู้ของนักเรียน ออกเป็นสองประเภท: การประเมินแบบสรุปผล ซึ่งรวมถึงกิจกรรมที่มี การตัดเกรด เช่น การทดสอบ ซึ่งจะสร้างความเข้าใจในการประสบผล สัมฤทธิ์ของนักเรียนแบบร่วมกันและคงที่ การประเมินแบบสร้างเสริมนั้น รวมถึงกิจกรรมในห้องเรียนประจำวันที่จะช่วยให้ครูและนักเรียนเข้าใจกันว่า เรียนสิ่งใดแล้วและยังไม่ได้เรียนสิ่งใดบ้าง และดำเนินการตามผลที่ได้ อย่างต่อเนื่อง 
     
    Stuart Connor ผู้อำนวยการฝ่ายคุณสมบัติและการประเมินของ Pearson Asia ได้กล่าวไว้ว่า "สิ่งที่ได้วิวัฒน์ไปแล้วคือแนวคิดที่ว่าทดสอบไปทำไม และทดสอบเพื่อจุดประสงค์ใด การประเมินที่ดีจะช่วยให้ครูเน้นที่การทดสอบ จัดการชั้นเรียนที่มีความสามารถผสมกัน และระบุและแก้ไขข้อผิดพลาดของ นักเรียนได้โดยง่าย 
     
    มีหลายปัจจัยที่ทำให้วิธีการสอนในชั้นเรียนที่อิงจากข้อมูลนี้เป็นไปได้ – การฝึกอบรมที่มากขึ้น ควบคู่กับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยให้ผู้สอนและผู้ดูแล ระบบย้ายไปมาระหว่างทรัพยากรและการทดสอบได้อย่างลื่นไหล และ การนำมาตรฐานทั่วไปมาใช้  
     
    ซึ่งช่วยให้พวกเขาเชื่อมความเกี่ยวข้องระหว่าง "การประเมินของการเรียนรู้" และ "การประเมินเพื่อการเรียนรู้" ได้ – ซึ่งก็คือความแตกต่างระหว่าง การเรียนเพื่อการทดสอบ และการทดสอบเพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้  
     
    ตัวอย่างเช่น เครื่องมือต่างๆ เช่น โพลล์ออนไลน์ในห้องเรียนช่วยให้ครู สามารถวัดระดับการมีส่วนร่วมของนักเรียนและความเข้าใจของนักเรียน ต่อเนื้อหาที่กำลังสอนได้แบบเรียลไทม์ และเมื่อแอปพลิเคชันเรียนทางไกล ต่างๆ ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากโคโรนาไวรัส แอปเหล่านี้จึงเพิ่ม การทำโพลล์เข้ามาด้วยเพื่อให้ผู้สอนสามารถเก็บข้อมูลประสิทธิภาพ ในการเรียนของนักเรียนได้แม้จะไม่ได้เจอกันซึ่งหน้า  
     
    โดยสิ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงนี้คือเมื่อใช้เทคโนโลยี ครูและนักเรียน จะสามารถ "นำผลลัพธ์ไปใช้งานได้" ตามที่กล่าวโดย Kayo "เราตอบคำถามต่อไปนี้ได้: 'ขั้นต่อไปจะทำอะไรดี จะทำอย่างไรดี'" โดยเธอได้เสริมว่าอาจจะเป็นสิ่งที่ชัดเจน เช่นเป็นทักษะเฉพาะ หรืออาจ จะเป็นสิ่งที่ไม่ชัดเจนนัก เช่น การเปลี่ยนแปลงสไตล์การสอน "การเรียนรู้ จะมีจุดมุ่งหมายชัดเจนขึ้นเมื่อคุณเชื่อมบทเรียนและการประเมินเข้าด้วยกัน" 
     
    ผู้สอนยังได้รับความสามารถในการส่งการฝึกอบรม เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ ประสิทธิภาพจากระยะไกล ซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ Stuart กล่าวว่า "เรากำลังจะต้องเปลี่ยนวิธีการสอนไปโดยสมบูรณ์เนื่องจากโรคระบาด โคโรนาไวรัส ซึ่งทำให้เราใช้การเรียนออนไลน์และระยะไกลมากขึ้นอย่าง มหาศาล" 

    ติดตามความสำเร็จที่ทุกระดับ 

    การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจะเกิดขึ้นในหลายระดับ Stuart กล่าวว่า "การวิเคราะห์ข้อมูลมีความสำคัญมากต่อคุณภาพ จากมุมมองของ ผู้เรียนแล้ว...แค่ได้เห็นว่าตอนนี้อยู่ตรงไหน กำลังทำได้ในระดับไหน เมื่อเทียบกับ KPI หรือเป้าหมายที่ตั้งให้ตัวเอง – ต้องทำงานอีกเท่าไหร่ และต้องทำกิจกรรมเฉพาะอะไรบ้างเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย การที่สามารถ ดูข้อมูลเหล่านี้ได้ในรูปแบบตัวเลขหรือกราฟด้วยการคลิกแค่ปุ่มเดียวนั้น มันส่งผลอย่างมากเลยทีเดียว" 
     
    และยังช่วยให้ครูเข้าใจได้ว่าตอนนี้การสอนตรงตามการวางแผนการสอนหรือภาคเรียนหรือไม่อีกด้วย ที่ระดับสูง หัวหน้าแผนกจะดูได้ว่าแต่ละชั้นเรียน เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งช่วยให้ควบคุมและวัดคุณภาพและสร้างเสริมการพัฒนา ได้ เพื่อไม่ให้มีผู้เรียน ชั้นเรียน หรือแม้แต่ผู้สอนใดที่ตามไม่ทัน  
     
    Stuart กล่าวว่า "สำหรับสถาบันแล้ว หากกำลังต้องการที่จะลงทุนใน เทคโนโลยี ในทรัพยากรหรือการประเมิน ข้อมูลนี้จะบอกว่าการลงทุนนั้นได้ ผลตอบแทนกลับมามากน้อยเพียงใด เพราะจะสามารถวัดได้ว่าผู้เรียนพัฒนา ทักษะภาษาอังกฤษได้ดีขนาดไหน จึงเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญมาก" 
     
    การใช้ข้อมูลเพื่อพลังแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับโอกาส ในการดึงจุดเด่นของตนเองมาใช้ กับระบุและแก้ไขจุดด้อย เป็นการพัฒนา สำคัญในวิธีการสอนของครู และอาจส่งผลอย่างถาวรต่อการออกแบบและ สอนชั้นเรียน ELT

     

    read more
  • พอดแคสต์: บทที่ 8 — ความยุติธรรมของอัลกอริทึม

    image

    ยินดีต้อนรับสู่บทที่ 8 ของพอดแคสต์ศาสตร์แห่งการเรียนรู้ 
     
    แขกรับเชิญในครั้งนี้ของเราคือ Dr Rose Clesham ผู้อำนวยการ ฝ่ายมาตรฐานทางวิชาการและการวัดผล (การประเมินภาษาอังกฤษ)  ของ Pearson เพื่อสำรวจความซับซ้อนของการประเมินอิเล็กทรอนิกส์ และความยุติธรรมของอัลกอริทึม รวมถึงข้อดีของการทดสอบด้วย คอมพิวเตอร์ 
     
    เราจะสนทนาถึงประสบการณ์ของ Dr Clesham ในการพัฒนาการทดสอบ ของหลักสูตรระดับประเทศ รวมถึงเนื้อหาของการทดสอบแบบวินิจฉัยและ สร้างเสริม (0:57) พื้นฐานของการทำความเข้าใจความถูกต้องของ การประเมิน (3:46) การพัฒนาล่าสุดเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ในการประเมิน อิเล็กทรอนิกส์ (8:11) ความท้าทายจากความต่างด้านวัฒนธรรม ในการพัฒนาและใช้การประเมินที่เป็นมาตรฐานและเป็นปึกแผ่น (14:43) ความท้าทายในการทำให้อัลกอริทึมไม่มีอคติจากโปรแกรมเมอร์ที่เป็น มนุษย์ (17:07) การลดความกลัวของผู้เรียนต่อการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (23:11) และอีกหลายเรื่อง 

     

    read more
  • PTE Academic คือมาตรฐานระดับโกลด์: เหตุผลก็เพราะ

    image

    Pearson Test of English (PTE) เป็นมาตรฐานระดับโกลด์ด้านการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียน   

    PTE เปิดประตูนำคุณสู่มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับระดับโลก ทุนการศึกษาที่ช่วยพลิกชีวิต และวีซ่านักเรียนและนักศึกษา   

    ลองมาดูเหตุผลที่ทำให้ PTE ถือเป็นการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการศึกษาต่างประเทศและการยื่นขออพยพอย่างแท้จริง

    read more
  • การเรียนรู้แบบออนไลน์กับแบบผสมผสาน แบบใดดีกว่ากัน?

    article

    ในโลกยุคก่อนเทคโนโลยี รูปแบบการสอนดั้งเดิมมักพึ่งพาสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลัก ดังเช่นการใช้สมุดนักเรียนสำหรับงานในชั้นเรียน และสมุดแบบฝึกหัดสำหรับการบ้าน 

    แนวทางดังกล่าวเป็นที่ยอมรับว่าได้ผลดี และที่ผ่านมารากฐานโครงสร้างของชั้นเรียนก็ไม่ค่อยแตกต่างไปจากเดิม แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันก็คือ การแพร่หลายของเทคโนโลยีและบทบาทของเทคโนโลยีในโลกการศึกษา เมื่อเราถูกรายล้อมด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า รูปแบบการเรียนการสอนก็ย่อมเปลี่ยนไปเช่นกัน 

    ตลับเทปเคยถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการศึกษาในยุคปี 1970 และ 80 จากนั้นเราก็เริ่มก้าวเข้าสู่ความล้ำหน้าทางคอมพิวเตอร์ในช่วงปี 1990 ซึ่งปูทางสู่การใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กอย่างหลากหลายในชั้นเรียน นับตั้งแต่นั้นมาเราก็เริ่มเล็งเห็นโอกาสของการสอนแบบออนไลน์ ในฐานะแนวทางการสอนรูปแบบใหม่ที่ช่วยเสริมการเรียนรู้แบบดั้งเดิม 

    แม้เทคโนโลยีในช่วงนั้นมีข้อจำกัด แต่ก็ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของการสอน เพราะทำให้นักการศึกษาตระหนักว่า การเรียนการสอนสามารถเกิดขึ้นได้นอกชั้นเรียน และก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาลต่อผู้เรียน 

    ภายใต้บริบทของการสอนภาษาอังกฤษ ปัจจัยบางส่วนมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้ อันประกอบด้วย: ความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้เรียนที่อยากเข้าถึงข้อมูลในทุกเวลาที่ต้องการ, การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้เป็นที่สนใจ และวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

    ท้ายสุดแล้ววิธีที่เราเรียนรู้มิได้เป็นเส้นตรง และแต่ละคนมีแนวทางการเรียนรู้ในแบบของตนเอง ดังนั้นผู้สอนจึงยังคงพบกับความท้าทายในการออกแบบแนวทางที่เหมาะสมสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษยุคใหม่ แล้วแนวทางใดดีที่สุด? 

    ลองมาทำความรู้จักการเรียนรู้แบบออนไลน์และการเรียนรู้แบบผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็นแบบผสมระหว่างชั้นเรียนและออนไลน์ การเรียนรู้แบบเฉพาะบุคคล การเรียนรู้แบบดิจิทัล ฯลฯ เรามักได้ยินนิยามเหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ยังไม่ชัดเจนอยู่ดีว่าแต่ละอย่างมีลักษณะและการทำงานอย่างไรในการปฏิบัติจริง 

    ทำความรู้จักกับแนวทางการเรียนรู้แบบออนไลน์ 

    การเรียนรู้แบบออนไลน์คืออะไร? แนวทางดังกล่าวก็คือสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่อยู่บนโลกออนไลน์ ผู้เรียนสามารถฝึกฝนได้บ่อยครั้งตามที่ต้องการ ทำการบ้านในเวลาที่สะดวก และสามารถควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง 

    คุณคาโย ทางุชิ ผู้จัดการฝ่ายดูแล ELT (English Language Teaching) ของ Pearson Asia กล่าวว่า แง่มุมที่เป็นประโยชน์สูงสุดของแนวทางการสอนแบบออนไลน์ก็คือ ปริมาณข้อมูลมหาศาลที่เราจะได้รับ นั่นหมายถึงเราสามารถติดตามความคืบหน้า วิเคราะห์ตัวเลขต่างๆ ที่บ่งบอกลักษณะของผู้เรียนแต่ละคน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ได้ในที่สุด  

    “ผู้สอนสามารถสร้างสภาพแวดล้อมชั้นเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งรองรับกิจกรรมโต้ตอบได้หลากหลาย เช่น แบบสำรวจความคิดเห็น ห้องเรียนย่อย ตลอดจนกิจกรรมกลุ่มในรูปแบบออนไลน์ สิ่งที่ได้รับก็คือ โอกาสที่ผู้เรียนสามารถเปลี่ยนไปทำการบ้านนอกชั้นเรียน หรือแม้แต่การศึกษาเพิ่มเติมตามเวลาที่ตนเองสะดวก ซึ่งเป็นไปได้ด้วยสภาพแวดล้อมแบบออนไลน์”

    แม้แนวทางการเรียนรู้แบบออนไลน์ทำให้ผู้เรียนเกิดความสร้างสรรค์ในการทำการบ้านและการศึกษาเพิ่มเติมนอกหลักสูตรตามแนวทางของตนเอง แต่การใช้แนวทางแบบออนไลน์เพียงอย่างเดียวก็มีความท้าทายเช่นกัน  

    ในมุมมองของคุณคาโย แนวทางดังกล่าวต้องพึ่งพาการเข้าถึงเทคโนโลยี ต้องมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ดี และผู้เรียนต้องมีวินัย 

    “มีแง่มุมด้านเทคโนโลยีที่เราต้องคำนึงถึงเมื่อจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เช่น เมื่อไม่สามารถสื่อสารได้โดยไม่ตั้งใจ หรือหากผู้เรียนไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ไม่ต่อเนื่อง หรือผู้เรียนสนใจสิ่งอื่นบนโทรศัพท์ นี่คือความท้าทายที่พบได้ทั่วไป” 

    สำหรับผู้สอนก็ต้องพบกับปัจจัยด้านการบริหารจัดการที่ต้องคำนึงถึงในการนำชั้นเรียนขึ้นระบบออนไลน์ อีกทั้งยังต้องศึกษาทักษะใหม่ๆ ของแพลตฟอร์มเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากสภาพแวดล้อมชั้นเรียนแบบออนไลน์  

    คุณคาโยกล่าวว่า แนวทางการสอนแบบออนไลน์จะมีประสิทธิภาพสูง หากได้รับการฝึกฝนและเตรียมวางแผนไว้อย่างชัดเจน 

    “ตัวอย่างเช่น หากผู้เรียนขาดเรียน ผู้สอนก็สามารถมอบวิดีโอบันทึกการสอนแบบออนไลน์ หรือไฟล์ PDF ที่มีเนื้อหาภาพรวมของบทเรียนให้แก่ผู้เรียน และในช่วงเวลาที่ไม่ปกติอย่างเช่นกรณีของโควิด-19 คุณก็สามารถเข้าเรียนหลักสูตรต่างๆ ได้จากทุกที่ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาชั้นเรียนแบบเดิมอีกต่อไป” 

    แล้วแนวทางการเรียนรู้แบบผสมผสานคืออะไร? 

    ดังความหมายที่แฝงไว้ในชื่อดังกล่าว การเรียนรู้แบบผสมผสานก็คือ การผสมผสานระหว่างสองรูปแบบ ได้แก่ การเรียนรู้แบบดั้งเดิมและการเรียนรู้แบบออนไลน์ หากถ่ายทอดออกมาในรูปแบบแผนภาพเวนน์ เราจะได้แผนภาพดังนี้:  

    • พื้นที่ A แทนการเรียนรู้แบบออนไลน์
    • พื้นที่ B แทนการเรียนรู้แบบดั้งเดิม 
    • ยูเนียนของ A และ B แทนการเรียนรู้แบบผสมผสาน  
    read more
  • INFOGRAPHIC: คู่มือเริ่มต้นสำหรับ PTE Academic

    infographic

    แบบทดสอบ Pearson Test of English Academic(PTE) คือแบบทดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษโดยเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก

    แบบทดสอบ PTE ใช้วิธีการวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษที่รวดเร็วและยืดหยุ่นเพื่อการสมัครเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย

    นอกจากนี้ PTE ยังเหมาะสมสำหรับยกระดับผู้เรียนภาษาอังกฤษเพื่อการทำงานอย่างเป็นมืออาชีพ

    ข้อมูลอินโฟกราฟิกด้านล่างได้ทำการสรุปสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับแบบทดสอบ PTE 

    read more
  • ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราเรียนภาษาอังกฤษอย่างไร

    article

    Untitled Document

    ในขณะที่การเรียนภาษาอังกฤษกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นในเอเชีย นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการเรียนรู้ก็กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีที่นักการศึกษาในภูมิภาคดังกล่าวใช้เพื่อรับมือความท้าทายในการเสริมความชำนาญอันจำเป็นต่อผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาทั้งในบริบทของสถานศึกษาและวิชาชีพ 


    บทบาทที่เพิ่มขึ้นของการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการศึกษา ซึ่งทำให้ผู้สอนสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ผลการเรียนของผู้เรียนได้ในแทบจะทันที และสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อปรับรูปแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสม ทั้งหมดล้วนส่งผลต่อวิธีที่ผู้สอนและผู้เรียนใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ (ELT) และกลุ่มผู้เรียนภาษาที่มีความแข็งขันซึ่งอยู่ในบางพื้นที่ของภูมิภาคกำลังได้รับประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว   


    ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างเวียดนามและไทยกำลัง “เกิดความต้องการและความกระหายด้านการเรียนภาษา” ด้วยตระหนักว่าความเข้าใจและความสามารถในการสนทนาภาษาเพิ่มเติมโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อความก้าวหน้าทางอาชีพ อ้างอิงตามคำกล่าวของคุณสจ๊วต คอนเนอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายคุณวุฒิและการประเมินของ Pearson Asia

     
    รัฐบาลของทั้งสองประเทศตระหนักถึงความต้องการดังกล่าว และกำลังเปลี่ยนแปลงหลักสูตรภาษาอังกฤษและอาชีวศึกษา เพื่อมอบความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่ประชาชนเพื่อเป้าหมายแห่งความเจริญก้าวหน้าในเศรษฐกิจโลก ประเทศดังกล่าว “เล็งเห็นถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษที่มีต่อความสำเร็จในอนาคต ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโต และดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศให้เพิ่มสูงขึ้น” คุณสจ๊วต กล่าว 


    อย่างไรก็ดีการเตรียมตัวผู้เรียนภาษาอังกฤษเพื่ออนาคตที่สดใส จำเป็นต้องอาศัยความเหมาะสมทั้งในด้านสื่อการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และการประเมินคุณวุฒิ อันประกอบด้วยการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระดับสูงเพื่อความสำเร็จ อาทิ การใช้สื่อการเรียนการสอนตามมาตรฐานสากลของ ESL (ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สอง) และการมุ่งเป้าไปที่ระดับ B1 หรือระดับกลาง ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาของยุโรป (CEFR) อันเป็นความเห็นของคุณสจ๊วต 


    เจาะลึกเรื่องข้อมูล

     
    อย่างไรก็ดีเป้าหมายอันแรงกล้าที่น่ายกย่องดังกล่าวมาพร้อมคำถามอีกหลายข้อ:  

    • ผู้เรียนควรเริ่มเรียนภาษาตั้งแต่ระดับใด  
    • มีเวลาเพียงพอที่จะผลักดันให้ผู้เรียนก้าวสู่ระดับทางภาษาที่ต้องการเมื่อจบการศึกษาหรือไม่  
    • ผู้สอนมีคุณวุฒิหรือความสามารถที่เหมาะสมในการถ่ายทอดทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต้องสอนหรือไม่  
    • ผู้สอนมีสื่อการเรียนการสอนที่จำเป็นซึ่งช่วยส่งเสริมพัฒนาการหรือไม่ 


    ดังนั้นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเรียนรู้และความชำนาญทางภาษาจึงมีบทบาทสำคัญในฐานะเครื่องมือของนักการศึกษา ผู้เรียนแต่ละคนมีความประสงค์ในแบบของตน ดังนั้นเส้นทางการเรียนรู้รายบุคคลจึงเป็นเรื่องสำคัญ ตามความเห็นของคุณคาโย ทางุชิ ผู้จัดการฝ่ายดูแล ELT ของ Pearson Asia ดังนั้นการตระหนักถึงระดับความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน และการมีเป้าหมายที่ชัดเจนด้านพัฒนาการในแต่ละช่วงเวลา จึงมีความสำคัญในการจัดการด้านพัฒนาการทางภาษา  


    “แต่ละคนเรียนรู้ได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นในชั้นเรียนเดียวกัน จึงมีทั้งผู้ที่เรียนช้าและเรียนเร็ว” คุณคาโย กล่าว “แต่ละคนมีจุดเด่นและจุดด้อยต่างกันไป และจำเป็นต้องรับได้ความใส่ใจ”  


    เราจะทราบได้ก็ด้วยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เล็งเห็นถึงจุดเด่นและจุดด้อยโดยละเอียด เมื่อนำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ ก็จะช่วยสร้างวงรอบข้อคิดเห็นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ด้านการเรียนรู้อันเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว และมีประสิทธิภาพ ดังที่คุณสจ๊วตระบุว่า “วงรอบข้อคิดเห็นของการสอน การเรียน การประเมิน ล้วนต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง” 


    คุณคาโยยังกล่าวด้วยว่า ข้อมูลเชิงลึกลักษณะดังกล่าวเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นและมีแรงบันดาลใจในการศึกษาเรียนรู้ต่อไป “ความสามารถในการบ่งชี้จุดเด่นและจุดด้อยของผู้เรียนแต่ละคนจะช่วยนักการศึกษาในการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน” คุณคาโย กล่าว อีกทั้งยังเสริมด้วยว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยถือเป็นสิ่งล้ำค่าต่อกระบวนการที่ว่า 


    อนาคตของการเรียนภาษา 


    เทคโนโลยีช่วยเหลือนักการศึกษาให้สามารถสอนได้ดีขึ้นอย่างไร “Pearson ใช้เครื่องมือหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อถอดรหัสรูปแบบและสร้างภาพร่างของชั้นเรียนและผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างรวดเร็วและในปริมาณมาก” คุณสจ๊วต กล่าว  


    ความสามารถด้านการวิเคราะห์ที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูลของ Pearson ช่วยในการบันทึกรายละเอียดที่ครอบคลุม และนำเสนอข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่ผู้สอนเข้าใจได้ง่าย ทำให้สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านวิธีการสอน และแนวทางการใส่ใจและดูแลผู้เรียนแต่ละคน  


    ตัวอย่างเช่น Pearson ใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) เพื่อวัดผลทดสอบอย่างรวดเร็วและแม่นยำ รวมถึงสามารถจำแนกผลการเรียนของนักเรียนแต่ละคนตามทักษะ ซึ่งจำแนกได้แม้กระทั่งทักษะการพูด และหากผู้เรียนมีจุดอ่อนในบางเรื่อง เช่น ในการพูดบางระดับภายใต้บางบริบท ระบบก็สามารถให้ข้อคิดเห็นและคำแนะนำว่าควรเน้นย้ำหัวข้อใดในสื่อการเรียนการสอนของหลักสูตรเพื่อเสริมทักษะดังกล่าว ซึ่งทั้งหมดถูกจัดการโดยอัตโนมัติผ่านเทคโนโลยี โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ใดเข้าไปจัดการ 


    นักการศึกษายังสามารถถ่ายทอดการสอน รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลการเรียนได้จากระยะไกล ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่กำลังมีความสำคัญอย่างมาก “เราต้องเปลี่ยนกระบวนวิธีการสอนโดยสิ้นเชิง สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา จนทำให้เราต้องก้าวสู่การเรียนการสอนออนไลน์จากระยะไกลให้เร็วที่สุด” คุณสจ๊วต กล่าว  


    Pearson ได้ปรับตัวสู่วิถีใหม่แห่งโลกดิจิทัลที่เข้มข้นขึ้น โดยผสานการประเมินผลไว้ในสื่อการเรียนการสอนของหลักสูตร ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านระบบการเรียนการสอนของบริษัทในรูปแบบดิจิทัล 


    ดังนั้นไม่ว่าโลกของเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในยุคของ “ชีวิตวิถีใหม่” เทคโนโลยีและข้อมูลก็ยังคงส่งผลต่อการเรียนการสอนโดยจริงแท้และไม่เปลี่ยนแปลง

    read more