การว่าจ้างบุคลากรที่มีความสามารถในโลกหลังการแพร่ระบาด
by
มาสำรวจดูว่าเพราะเหตุใดจึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องค้นหาและว่าจ้างบุคลากรที่มีความสามารถ ซึ่งแสดงศักยภาพและมีคุณสมบัติในการคิดอย่างสร้างสรรค์ ทำงานอย่างยืดหยุ่น และตัดสินใจได้อย่างมีวิจารณญาณ อ่านเลย
หากคุณย้อนเวลากลับไปบอกพนักงานออฟฟิศจากยุค 90 ว่างานในแต่ละวันของพวกเขาจะเป็นอย่างไรในปี 2020 พนักงานคนนั้นคงหัวเราะใส่คุณในห้องทำงานเล็กๆ ของพวกเขา จากนั้นคุณก็จะโดนพาเดินผ่านเครื่องทำน้ำเย็นกับห้องเก็บอุปกรณ์เครื่องเขียนออกไป พนักงานในจินตนาการคนนี้จากยุคที่ใช้กระดาษกับอินเทอร์เน็ตแบบ dialup ไม่มีทางเข้าใจได้เลยว่า งานของพวกเขานั้นสามารถทำได้จากที่อื่นที่ไม่ใช่สำนักงาน
แต่เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับพนักงานในจินตนาการคนนี้ เพียงหนึ่งปีที่แล้ว ก็คงไม่มีใครคาดคิดว่า การเดินทางยามเช้าในอนาคตของเราจะต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ เราไม่ได้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และฝ่าการจราจรที่ติดขัด แต่เราแค่เดินผ่านโถงบ้านไปยังสำนักงานชั่วคราว ที่บ้านของเราเอง องค์กร (และพนักงานในองค์กร) ต่างเข้าสู่การทำงานรูปแบบใหม่โดยมีการใช้แพลตฟอร์มการประชุมทางวิดีโอ และพึ่งพาเทคโนโลยีบนคลาวด์มากขึ้น และมีการปรับตัวเพื่อให้ทำงานจากระยะไกลได้ทันที
องค์กรและพนักงานได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของพวกเขา
Microsoft ระบุว่าในช่วงแรกของการแพร่ระบาดสถิติของเวลาในการประชุมประจำวันได้ถูกทำลายลงอย่างราบคาบ โดยสถิติที่บันทึกไว้ก่อนหน้านี้คือ 900 ล้านนาที เมื่อวันที่ 16 มีนาคม และจำนวนดังกล่าวได้พุ่งขึ้นเป็น 2.7 พันล้านนาที ในการประชุมวันที่ 31 มีนาคม ซึ่งพุ่งทะยานขึ้น 200% ในเวลาเพียงแค่ 15 วันเท่านั้น ข้อมูลนี้อาจไม่น่าแปลกใจนัก เมื่อดูจากนโยบายการทำงานจากที่บ้านทั่วโลกที่ทีมงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ประกาศใช้ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า องค์กรที่มีความคล่องตัวต้องทำอย่างไร เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในช่วงเวลาที่ไม่คาดคิด
การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้เร่งแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นให้เร็วขึ้นไปอีก เช่น ปัญญาประดิษฐ์ บิ๊กดาต้า และระบบอัตโนมัติ แม้ว่าการแพร่ระบาดนี้จะไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยตรง แต่ก็ช่วยเร่งแนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้นให้มาถึงเร็วยิ่งขึ้น การแพร่ระบาดส่งผลต่อวิธีการทำงานของเรา และสร้างความท้าทายด้านทรัพยากรบุคคลในการดำเนินงานที่เป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal) ที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาและดูแลบุคลากรที่มีความสามารถที่ทำงานได้
การดูแลบุคลากรที่มีความสามารถเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก
และตอนนี้การสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถ และมีคุณสมบัติในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในวิถีชีวิตแบบใหม่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง จากการวิจัยของ Pearson ระบุว่า องค์กรต่างๆ กำลังพยายามเฟ้นหาผู้สมัครมาทำงานในตำแหน่งที่ว่างอยู่ และประเมินผลชุดทักษะของผู้สมัครอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผู้หางานยังพบว่า ตนเองกำลังเผชิญปัญหาด้านความก้าวหน้าในอาชีพ กล่าวคือ พวกเขาพบว่าตนเองมีคุณวุฒิสูงเกินไป มีทักษะต่ำเกินไป หรือในบางกรณีก็เป็นทั้งสองอย่าง
การวิจัยพบว่าฝ่ายทรัพยากรบุคคล และผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้และการพัฒนามุ่งเน้นไปที่การค้นหาว่า ผลกระทบจากโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ส่งผลต่อองค์กรของพวกเขา รวมถึงโครงสร้างทักษะของพนักงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้าใจ (และการระบุ) ช่องว่างของทักษะอย่างไร จากข้อมูลพบว่า 57% ของความต้องการในองค์กรก็คือ การทำความเข้าใจถึงการแพร่ระบาดที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของทีม วิธีการทำงาน และการออกแบบองค์กรโดยรวม และ 33% ต้องการมุ่งเน้นที่การเพิ่มทักษะใหม่ให้กับพนักงาน
วิธีการทำงานแบบใหม่นี้ทำให้ทักษะด้านอารมณ์และสังคม เช่น การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การปรับตัว การทำงานร่วมกัน และการสื่อสาร มีความสำคัญเพิ่มขึ้นมาก นอกจากนี้ แม้ทักษะด้านอารมณ์และสังคมจะถูกมองว่ามีความสำคัญในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีช่องโหว่ให้เห็นระหว่างผู้หางานและแรงงานในปัจจุบัน การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนเป็นทักษะด้านอารมณ์และสังคมสองทักษะ ซึ่งเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมแต่กลุ่มบุคลากรที่มีความสามารถกลับไม่มีทักษะนี้
การวิจัยของ Pearson พบว่าทักษะ 10 อันดับแรกที่องค์กรต่างๆ ต้องการโดยเรียงลำดับตามความสำคัญนั้น มีดังต่อไปนี้
- ความสามารถในการปรับตัวและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (38%)
- การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการตัดสินใจ (34%)
- การประมวลผลและการตีความข้อมูลที่ซับซ้อน (31%)
- การบริหารโครงการ (29%)
- ความเป็นผู้นำและการจัดการผู้อื่น (27%)
- ทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐาน (25%)
- ทักษะไอทีขั้นสูงและการเขียนโปรแกรม (25%)
- ทักษะเชิงปริมาณและสถิติ (22%)
- การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงและทักษะทางคณิตศาสตร์ (22%)
- การเป็นผู้ประกอบการและการริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ (20%)
ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลจำนวนมากกำลังพิจารณาเครื่องมือและบริการออนไลน์ เพื่อแก้ไขช่องว่างของทักษะและประเมินความต้องการในปัจจุบัน (และในอนาคต) ขององค์กร กิจกรรมต่างๆ เช่น การเวิร์คช็อป แนวทางด้านอีเลิร์นนิง และบริการที่ปรึกษาได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์มากขึ้นเพื่อฝึกทักษะใหม่ และยกระดับทักษะแรงงานในรูปแบบของการศึกษาในระหว่างการทำงาน
การว่าจ้างบุคลากรที่มีความสามารถที่ทำงานได้ถือเป็นความท้าทายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ควรจะเป็นในรูปแบบใด
หนึ่งในความตระหนักรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยุคใหม่ของการทำงานระยะไกลก็คือ เทคโนโลยีได้พิสูจน์แล้วว่าพนักงานไม่ได้ทำงานจากระยะไกลเพียงอย่างเดียว แต่กำลังทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล และให้ผลลัพธ์ที่มากขึ้น Harvard Business Review ระบุว่า บริษัทเทคโนโลยี Humanyze ได้ขุดข้อมูลอีเมล การสนทนา และปฏิทินของบริษัท ที่ไม่ระบุชื่อ และพบว่า ระยะเวลาที่พนักงานใช้ในการทำงานนั้นเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 10-20% นับตั้งแต่มีการใช้นโยบายการทำงานระยะไกล
บริษัทชั้นนำระดับโลกหลายแห่ง เช่น Twitter, Upwork, Facebook, Coinbase และ Square ได้ให้ทางเลือกแก่พนักงานในการทำงานจากระยะไกลอย่างถาวร องค์กรเหล่านี้บางแห่งเรียกวิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นนโยบาย "ทำงานจากที่ใดก็ได้" ซึ่งพนักงานสามารถกำหนดได้เองว่าจะทำงานที่ไหน โดยอาจไม่ต้องเข้ามาที่สำนักงานอีกเลย การผสมผสานระหว่างการคิดอย่างรวดเร็วขององค์กร ความยืดหยุ่นของพนักงาน และความสามารถทางเทคโนโลยีทำให้สิ่งนี้เป็นไปได้ สิ่งต่างๆ ที่แม้จะเห็นได้ชัดว่าทำได้ แต่ไม่เคยทำได้จริงๆ จนกระทั่งความจำเป็นจะบังคับให้พวกเขาต้องลงมือทำ
เทคโนโลยีได้ปลดปล่อยบุคลากรที่มีความสามารถออกจากสถานที่ทางกายภาพ ซึ่งคอยปิดกั้นบุคลากรที่มีความสามารถที่ทำงานได้ และมีทักษะด้านอารมณ์และสังคม และด้านเทคนิคที่องค์กรต่างๆ ต้องการอยู่ในตอนนี้มาโดยตลอด แต่ก่อนนั้น การจ้างงานบุคลากรที่มีความสามารถจากที่อื่นก็คือ ต้องให้พวกเขาย้ายมา แต่ตอนนี้สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป หากบุคลากรที่มีความสามารถที่เก่งที่สุดในตลาดได้แสดงตัวออกมา และมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เร็วและแรง ก็ไม่มีเหตุผลใดที่พวกเขาจะไม่ได้รับการว่าจ้าง สิ่งเดียวที่เป็นอุปสรรคในการว่าจ้างบุคลากรที่มีความสามารถที่เหมาะสมไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็คือ ความคิดแบบเดิมๆ และการออกแบบองค์กรที่หยุดนิ่ง
ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลจำนวนมากกำลังพิจารณาเครื่องมือและบริการออนไลน์ เพื่อแก้ไขช่องว่างของทักษะและประเมินความต้องการในปัจจุบัน (และในอนาคต) ขององค์กร กิจกรรมต่างๆ เช่น การเวิร์คช็อป แนวทางด้านอีเลิร์นนิง และบริการที่ปรึกษาได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์มากขึ้นเพื่อฝึกทักษะใหม่ และยกระดับทักษะแรงงานในรูปแบบของการศึกษาในระหว่างการทำงาน
การว่าจ้างบุคลากรที่มีความสามารถที่ทำงานได้ถือเป็นความท้าทายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ควรจะเป็นในรูปแบบใด
หนึ่งในความตระหนักรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยุคใหม่ของการทำงานระยะไกลก็คือ เทคโนโลยีได้พิสูจน์แล้วว่าพนักงานไม่ได้ทำงานจากระยะไกลเพียงอย่างเดียว แต่กำลังทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล และให้ผลลัพธ์ที่มากขึ้น Harvard Business Review ระบุว่า บริษัทเทคโนโลยี Humanyze ได้ขุดข้อมูลอีเมล การสนทนา และปฏิทินของบริษัท ที่ไม่ระบุชื่อ และพบว่า ระยะเวลาที่พนักงานใช้ในการทำงานนั้นเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 10-20% นับตั้งแต่มีการใช้นโยบายการทำงานระยะไกล
บริษัทชั้นนำระดับโลกหลายแห่ง เช่น Twitter, Upwork, Facebook, Coinbase และ Square ได้ให้ทางเลือกแก่พนักงานในการทำงานจากระยะไกลอย่างถาวร องค์กรเหล่านี้บางแห่งเรียกวิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นนโยบาย "ทำงานจากที่ใดก็ได้" ซึ่งพนักงานสามารถกำหนดได้เองว่าจะทำงานที่ไหน โดยอาจไม่ต้องเข้ามาที่สำนักงานอีกเลย การผสมผสานระหว่างการคิดอย่างรวดเร็วขององค์กร ความยืดหยุ่นของพนักงาน และความสามารถทางเทคโนโลยีทำให้สิ่งนี้เป็นไปได้ สิ่งต่างๆ ที่แม้จะเห็นได้ชัดว่าทำได้ แต่ไม่เคยทำได้จริงๆ จนกระทั่งความจำเป็นจะบังคับให้พวกเขาต้องลงมือทำ
เทคโนโลยีได้ปลดปล่อยบุคลากรที่มีความสามารถออกจากสถานที่ทางกายภาพ ซึ่งคอยปิดกั้นบุคลากรที่มีความสามารถที่ทำงานได้ และมีทักษะด้านอารมณ์และสังคม และด้านเทคนิคที่องค์กรต่างๆ ต้องการอยู่ในตอนนี้มาโดยตลอด แต่ก่อนนั้น การจ้างงานบุคลากรที่มีความสามารถจากที่อื่นก็คือ ต้องให้พวกเขาย้ายมา แต่ตอนนี้สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป หากบุคลากรที่มีความสามารถที่เก่งที่สุดในตลาดได้แสดงตัวออกมา และมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เร็วและแรง ก็ไม่มีเหตุผลใดที่พวกเขาจะไม่ได้รับการว่าจ้าง สิ่งเดียวที่เป็นอุปสรรคในการว่าจ้างบุคลากรที่มีความสามารถที่เหมาะสมไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็คือ ความคิดแบบเดิมๆ และการออกแบบองค์กรที่หยุดนิ่ง
The Economist ได้ระบุว่า การเปิดพรมแดนเพื่อปลดปล่อยบุคลากรที่มีความสามารถข้ามทวีปจะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 78 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หากองค์กรต่างๆ เปลี่ยนจากการมุ่งเน้นการจ้างงานในกรอบแคบๆ ซึ่งจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคลากรที่มีความสามารถในท้องถิ่น สิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อผลกำไรมากพอๆ กับการดึงดูด การระบุ การรักษา และการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถเลยทีเดียว
การใช้กลยุทธ์ด้านบุคลากรที่มีความสามารถแบบครอบคลุมเพื่อปลดล็อคแรงงาน
การจ้างงานที่มีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผลในเวลาที่เหมาะสม ยังคงเป็นเรื่องสำคัญ หลายองค์กรกำลังพิจารณาหาเครื่องมือที่เชื่อมโยงบุคลากรที่มีความสามารถที่เหมาะสมกับงานด้านความร่วมมือ และจากการวิจัยของ Pearson พบว่า การที่บางองค์กรไม่คิดจะลงทุนในเครื่องมือภายนอกก็เพราะขาดทรัพยากรในการจ้างงานภายใน
หนึ่งในข้อค้นพบที่สำคัญของการวิจัยคือ คำแนะนำและการวินิจฉัย ซึ่งค้นพบโดยเครื่องมือภายนอกนั้นมีความสำคัญต่อการจับคู่ระดับทักษะกับหลักสูตรที่เหมาะสม เพื่อบ่มเพาะบุคลากรที่มีความสามารถที่จ้างมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพื้นฐานแล้ว การว่าจ้างบุคลากรที่มีความสามารถเป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้จัดการด้านการจ้างงานทุกคน แต่การรักษาบุคลากรที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์กร คือกุญแจสำคัญในโลกแห่งการทำงานยุคใหม่ การจัดการและการให้ผลตอบแทนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นอีกหนึ่งแนวโน้มที่ได้รับแรงกระตุ้นจากการทำงานระยะไกลเนื่องจากพนักงานต้องพึ่งพาข้อเสนอแนะ การโค้ช และการให้คำปรึกษามากขึ้นในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบใหม่
โดยรวมแล้ว องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับช่องว่างทักษะของพนักงาน รวมถึงแนวความคิดที่ก้าวหน้าในการว่าจ้างบุคลากรที่มีความสามารถ ซึ่งมีทักษะที่ตรงตามความต้องการ และมีการออกแบบองค์กรที่ปรับให้เหมาะสมและคล่องตัวที่สร้างขึ้นสำหรับโลกหลังการแพร่ระบาดครั้งนี้
[จบ]