• พอดแคสต์: ตอนที่ 11 — เหตุใดการคิดอย่างมีวิจารณญาณจึงมีความสำคัญต่อแรงงานยุคใหม่

    podcast

    ยินดีต้อนรับสู่พอดแคสต์ Art of Learning ตอนที่ 11  

    เราได้รับเกียรติจากคุณ Anisa Zulfiqar ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Pearson Asia ที่จะมาสนทนาเกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสำคัญในฐานะที่เป็นทักษะด้านอารมณ์และสังคมในที่ทำงานสมัยใหม่  

    เราจะมาสำรวจถึงความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณและส่วนช่วยในการเสริมทักษะเฉพาะทาง (0:49) ความสำคัญที่เพิ่มสูงขึ้นของการคิดอย่างมีวิจารณญาณในฐานะทักษะที่พึงปรารถนาและเป็นที่ต้องการ (4:08) การคิดอย่างมีวิจารณญาณนั้นเหมือนกันในทุกอุตสาหกรรมจริงหรือไม่ (7:33) กรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการคิดอย่างมีวิจารณญาณในที่ทำงาน (9:12) จะเกิดอะไรขึ้นหากพนักงานขาดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (10:46) ผลที่อาจเกิดขึ้นจากการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (13:31) ความท้าทายในการสอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณในประเทศไทยและเวียดนาม (15:24) และอีกมากมาย

    read more
  • การว่าจ้างบุคลากรที่มีความสามารถในโลกหลังการแพร่ระบาด

    article

    มาสำรวจดูว่าเพราะเหตุใดจึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องค้นหาและว่าจ้างบุคลากรที่มีความสามารถ ซึ่งแสดงศักยภาพและมีคุณสมบัติในการคิดอย่างสร้างสรรค์ ทำงานอย่างยืดหยุ่น และตัดสินใจได้อย่างมีวิจารณญาณ อ่านเลย 
     
    หากคุณย้อนเวลากลับไปบอกพนักงานออฟฟิศจากยุค 90 ว่างานในแต่ละวันของพวกเขาจะเป็นอย่างไรในปี 2020 พนักงานคนนั้นคงหัวเราะใส่คุณในห้องทำงานเล็กๆ ของพวกเขา จากนั้นคุณก็จะโดนพาเดินผ่านเครื่องทำน้ำเย็นกับห้องเก็บอุปกรณ์เครื่องเขียนออกไป พนักงานในจินตนาการคนนี้จากยุคที่ใช้กระดาษกับอินเทอร์เน็ตแบบ dialup ไม่มีทางเข้าใจได้เลยว่า งานของพวกเขานั้นสามารถทำได้จากที่อื่นที่ไม่ใช่สำนักงาน   

    แต่เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับพนักงานในจินตนาการคนนี้ เพียงหนึ่งปีที่แล้ว ก็คงไม่มีใครคาดคิดว่า การเดินทางยามเช้าในอนาคตของเราจะต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ เราไม่ได้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และฝ่าการจราจรที่ติดขัด แต่เราแค่เดินผ่านโถงบ้านไปยังสำนักงานชั่วคราว ที่บ้านของเราเอง องค์กร (และพนักงานในองค์กร) ต่างเข้าสู่การทำงานรูปแบบใหม่โดยมีการใช้แพลตฟอร์มการประชุมทางวิดีโอ และพึ่งพาเทคโนโลยีบนคลาวด์มากขึ้น และมีการปรับตัวเพื่อให้ทำงานจากระยะไกลได้ทันที 

    องค์กรและพนักงานได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของพวกเขา 

    Microsoft ระบุว่าในช่วงแรกของการแพร่ระบาดสถิติของเวลาในการประชุมประจำวันได้ถูกทำลายลงอย่างราบคาบ โดยสถิติที่บันทึกไว้ก่อนหน้านี้คือ 900 ล้านนาที เมื่อวันที่ 16 มีนาคม และจำนวนดังกล่าวได้พุ่งขึ้นเป็น 2.7 พันล้านนาที ในการประชุมวันที่ 31 มีนาคม ซึ่งพุ่งทะยานขึ้น 200% ในเวลาเพียงแค่ 15 วันเท่านั้น ข้อมูลนี้อาจไม่น่าแปลกใจนัก เมื่อดูจากนโยบายการทำงานจากที่บ้านทั่วโลกที่ทีมงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ประกาศใช้ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า องค์กรที่มีความคล่องตัวต้องทำอย่างไร เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในช่วงเวลาที่ไม่คาดคิด 

    การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้เร่งแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นให้เร็วขึ้นไปอีก เช่น ปัญญาประดิษฐ์ บิ๊กดาต้า และระบบอัตโนมัติ แม้ว่าการแพร่ระบาดนี้จะไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยตรง แต่ก็ช่วยเร่งแนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้นให้มาถึงเร็วยิ่งขึ้น การแพร่ระบาดส่งผลต่อวิธีการทำงานของเรา และสร้างความท้าทายด้านทรัพยากรบุคคลในการดำเนินงานที่เป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal) ที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาและดูแลบุคลากรที่มีความสามารถที่ทำงานได้ 

    การดูแลบุคลากรที่มีความสามารถเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก 

    และตอนนี้การสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถ และมีคุณสมบัติในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในวิถีชีวิตแบบใหม่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง จากการวิจัยของ Pearson ระบุว่า องค์กรต่างๆ กำลังพยายามเฟ้นหาผู้สมัครมาทำงานในตำแหน่งที่ว่างอยู่ และประเมินผลชุดทักษะของผู้สมัครอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผู้หางานยังพบว่า ตนเองกำลังเผชิญปัญหาด้านความก้าวหน้าในอาชีพ กล่าวคือ พวกเขาพบว่าตนเองมีคุณวุฒิสูงเกินไป มีทักษะต่ำเกินไป หรือในบางกรณีก็เป็นทั้งสองอย่าง 

    การวิจัยพบว่าฝ่ายทรัพยากรบุคคล และผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้และการพัฒนามุ่งเน้นไปที่การค้นหาว่า ผลกระทบจากโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ส่งผลต่อองค์กรของพวกเขา รวมถึงโครงสร้างทักษะของพนักงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้าใจ (และการระบุ) ช่องว่างของทักษะอย่างไร จากข้อมูลพบว่า 57% ของความต้องการในองค์กรก็คือ การทำความเข้าใจถึงการแพร่ระบาดที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของทีม วิธีการทำงาน และการออกแบบองค์กรโดยรวม และ 33% ต้องการมุ่งเน้นที่การเพิ่มทักษะใหม่ให้กับพนักงาน 

    วิธีการทำงานแบบใหม่นี้ทำให้ทักษะด้านอารมณ์และสังคม เช่น การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การปรับตัว การทำงานร่วมกัน และการสื่อสาร มีความสำคัญเพิ่มขึ้นมาก นอกจากนี้ แม้ทักษะด้านอารมณ์และสังคมจะถูกมองว่ามีความสำคัญในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีช่องโหว่ให้เห็นระหว่างผู้หางานและแรงงานในปัจจุบัน การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนเป็นทักษะด้านอารมณ์และสังคมสองทักษะ ซึ่งเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมแต่กลุ่มบุคลากรที่มีความสามารถกลับไม่มีทักษะนี้ 

    การวิจัยของ Pearson พบว่าทักษะ 10 อันดับแรกที่องค์กรต่างๆ ต้องการโดยเรียงลำดับตามความสำคัญนั้น มีดังต่อไปนี้

    1. ความสามารถในการปรับตัวและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (38%) 
    2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการตัดสินใจ (34%) 
    3. การประมวลผลและการตีความข้อมูลที่ซับซ้อน (31%) 
    4. การบริหารโครงการ (29%) 
    5. ความเป็นผู้นำและการจัดการผู้อื่น (27%) 
    6. ทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐาน (25%) 
    7. ทักษะไอทีขั้นสูงและการเขียนโปรแกรม (25%) 
    8. ทักษะเชิงปริมาณและสถิติ (22%) 
    9. การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงและทักษะทางคณิตศาสตร์ (22%) 
    10. การเป็นผู้ประกอบการและการริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ (20%) 
    read more
  • พอดแคสต์: ตอนที่ 6 — การยกระดับทักษะแรงงานผ่านคุณวุฒิที่ มุ่งเน้นด้านอาชีพ

    podcast

    ยินดีต้อนรับสู่บทที่ 6 ของพอดแคสต์ Art of Learning  

    เราได้รับเกียรติจากคุณไซมอน ยัง ผู้อำนวยการฝ่ายดูแล BTEC ในเอเชีย ของ Pearson มาร่วมสนทนาเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการยกระดับ ทักษะแรงงานในเศรษฐกิจยุคใหม่ และความสำคัญของคุณวุฒิที่มุ่งเน้น ด้านอาชีพ  

    เราได้พูดคุยกันว่าการยกระดับทักษะช่วยปลดล็อกพลังที่แท้จริงของ พนักงานได้อย่างไร (1:01) การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษา ผ่านความสำเร็จของ BTEC (3:35) กระบวนการสร้างคุณวุฒิ BTEC (8:29) เพราะเหตุใดผู้สอนจึงรักการสอนคุณวุฒิ BTEC (12:14) คุณวุฒิ BTEC ที่ได้รับความนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (14:30) BTEC จะส่งผลดี ต่อผู้เรียนที่ต้องการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอย่างไร และอีกหลากหลาย เรื่องราว (17:44)

    read more
  • พอดแคสต์: ตอนที่ 5 — ในเศรษฐกิจยุคใหม่ หากไม่ยกระดับทักษะ ก็มีแต่ต้องตามหลัง

    image

    การสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของการยกระดับทักษะแรงงานอย่าง ต่อเนื่อง (และมีประสิทธิภาพ) ในเศรษฐกิจยุคใหม่ ฟังเลย 

    ยินดีต้อนรับสู่ตอนที่ 5 ของพอดแคสต์ Art of Learning โดย Pearson Asia  

    เราได้รับเกียรติจากคุณเจสัน เกรกอรี ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ BTEC แห่งสหราชอาณาจักรและการฝึกงานที่ Pearson และคุณไซมอน ยัง ผู้อำนวยการฝ่ายดูแล BTEC ในเอเชียที่ Pearson มาร่วมสนทนากันว่า เหตุใดการยกระดับทักษะแรงงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพใน เศรษฐกิจยุคใหม่จึงเป็นเรื่องสำคัญ  

    เราจะสำรวจแนวคิดของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่และผลกระทบต่อ โอกาสในการทำงานและรูปแบบการจ้างงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (1:08) ข้อมูลเชิงลึกจากการสนทนากับรัฐมนตรีของรัฐบาลและผู้นำ ทางธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการความท้าทายด้านทักษะในอนาคต (3:42) ความหมายของการยกระดับทักษะ (8:04) ความจำเป็นของการร่วมมือ กันระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และรัฐบาลเพื่อให้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง นโยบายการศึกษา (10:13) บทบาทของ Pearson ในประเทศไทย ในฐานะพันธมิตรเชิงกลยุทธ์สำหรับอุตสาหกรรมและรัฐบาล (12:09) ขั้นตอนที่รัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมสามารถทำได้เพื่อให้มั่นใจว่าได้ ลงทุนอย่างเพียงพอในกลยุทธ์ด้านทักษะแห่งอนาคต (15:35) COVID-19 ได้เร่งให้เกิดเทรนด์ที่สำคัญและเพิ่มความเร่งด่วนในการยกระดับทักษะ อย่างไร (18:16) และความสำคัญของการใช้แนวคิด 'การเรียนรู้ตลอดชีวิต' (23:22)

    read more
  • ใครคือแรงงานในอนาคตของไทยและเวียดนาม

    image

    สำหรับรัฐบาลไทยและเวียดนาม ความเข้าใจในด้านพฤติกรรมและความต้องการทางอาชีพของแรงงานในอนาคตถือเป็นเรื่องสำคัญ 
      
    อิโฟกราฟิกที่ถ่ายทอดการศึกษาและวิจัยจาก Pearson และนีลเส็นดังกล่าวนี้ แสดงข้อมูลเจาะลึกเรื่องความปรารถนาด้านการศึกษา การทำงาน และอาชีพ ของคนเมืองชาวไทยและเวียดนาม 

    read more
  • ก้าวนำอนาคต: ประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะรับมือกับช่องว่างทางทักษะอย่างไร

    image

    ประเทศต่างๆ อาทิ เวียดนามและไทย อยู่ในสถานะที่เหมาะอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนทิศทางเรื่องการให้ความสำคัญภาคการศึกษา และมอบทักษะที่จำเป็นแก่เยาวชนเพื่อความสำเร็จในโลกยุคดิจิทัล 

    โลกของการทำงานกำลังเปลี่ยนไป ซึ่งท้ายสุดล้วนขึ้นอยู่กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ผู้เรียน สถานศึกษา และหน่วยงานภาครัฐ ที่ต้องพิเคราะห์และปรับตัวให้เข้ากับกระแสล่าสุด เพื่อเตรียมตัวและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในอนาคต 
      
    งานวิจัยจาก Pearson ระบุว่า จำนวนแรงงานในภูมิภาคดังกล่าวมีเพียงพอและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ที่น่ากังวลและทำให้เศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องชะงักตัวก็คือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ โดยทักษะด้านความรู้ (hard skills) เช่น ความสามารถเชิงเทคนิค และทักษะด้านอารมณ์ (soft skills) เช่น การสื่อสาร รวมถึงความตั้งใจในการใฝ่รู้ตลอดเส้นทางอาชีพ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการลดช่องว่างเรื่องการขาดแคลนทักษะ และจะทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างทัดเทียม  
      
    นักเรียนที่ในวันนี้กำลังพิจารณาว่าจะศึกษาด้านใดและอย่างไร จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในปี 2030 ซึ่งเป็นโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน โดยรายงานสภาวะตลาดจาก McKinsey ระบุว่า เราควรเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่โรงเรียนประถม มิเช่นนั้นในปี 2030 ผู้เรียนวัยเยาว์เหล่านี้จะพบว่าตนเองกำลังประกอบวิชาชีพอันไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป ดังนั้นจึงสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องบ่มเพาะให้ผู้เรียนมีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัว และเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ควบคู่ไปกับก้าวย่างทางการศึกษาและอาชีพ  
      
    กุญแจสำคัญที่บ่งชี้ถึงลักษณะการทำงานของเราในอนาคตอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลบนโลกของเราที่เดินหน้าไม่หยุดนิ่ง หรือที่เรียกกันว่า “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4” โดยกระแสเรื่องโลกาภิวัตน์และระบบอัตโนมัติยังเปลี่ยนแปลงวิธีทำธุรกิจของบริษัทต่างๆ ซึ่งทักษะการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมภูมิทัศน์ทางอาชีพที่กำลังเปลี่ยนไปถือเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในอนาคต 

    โอกาสอันล้ำค่า

    โชคดีที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทยและเวียดนาม มีโอกาสที่ดีด้านการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง ปัจจุบันแรงงานชาวเวียดนามกว่าครึ่งและแรงงานชาวไทยกว่าสามในสี่อยู่ในกลุ่มแรงงานที่มี “ทักษะระดับกลาง” ตามข้อมูลล่าสุดจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ   

    ทั้งสองประเทศกำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน ย้ายฟากจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ไปสู่เศรษฐกิจบนฐานความรู้ที่มีพลวัตมากขึ้น อันถือเป็นโอกาสที่ดีของทั้งสองประเทศในการปรับทรรศนะด้านความสำคัญทางการศึกษา และเสริมชุดทักษะที่จำเป็นต่ออนาคตให้แก่ประชากรของตน  
      
    รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ไม่ได้มีเป้าหมายในภายภาคหน้าเพียงแค่การมุ่งเป้าขยายอัตราส่วนจำนวนแรงงานที่มีทักษะ แต่รวมถึงการผลิตแรงงานที่ดีเยี่ยมจนสามารถแข่งขันในตลาดโลก อันจะช่วยดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศได้มากขึ้น   
      
    ดังนั้นสำหรับทั้งสองประเทศ การศึกษาระดับอาชีวศึกษาจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนสถานศึกษาที่ดำเนินโครงการต่างๆ เช่น หลักสูตรอาชีวศึกษาเชิงประสบการณ์อย่าง BTEC จาก Pearson  

    การศึกษาที่รอบด้าน 

    ฝ่ายบริหารของไทยและเวียดนามต่างล้วนต้องการสร้างพัฒนาการทางทักษะด้านความรู้อันเป็นความสามารถเชิงเทคนิคที่เรียนรู้ได้เป็นการเฉพาะ เช่น คุณวุฒิทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ความชำนาญด้านการอ่านและการเขียน ตลอดจนการทักษะการนำเสนอและการบริหารโครงการ  
      
    คุณสจ๊วต คอนเนอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายคุณวุฒิและการประเมินของ Pearson Asia ระบุว่า ทักษะเฉพาะเหล่านี้ควรได้รับการสอนโดยตรง ขณะเดียวกันก็ยังกล่าวเสริมด้วยว่า ทักษะด้านอารมณ์ที่แม้เป็นเรื่องทั่วไปและติดตัวมาแต่กำเนิด ก็ถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน อันประกอบด้วยทักษะระหว่างบุคคลอย่างความสามารถในการทำงานร่วมกัน การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ และความเข้าใจในเพื่อนร่วมงาน  
      
    ที่สำคัญไม่แพ้กันอีกเรื่องก็คือทักษะด้านอารมณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร อย่างการสอนให้ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกันภายใต้วัฒนธรรม พื้นที่ และภาษาที่ต่างกัน ซึ่งคุณไซมอน ยัง ผู้จัดการฝ่ายดูแล BTEC ในเอเชียของ Pearson มองว่า ส่วนสำคัญของทักษะด้านนี้ก็คือ ความมั่นใจในภาษาอังกฤษซึ่งถือเป็นสื่อกลางการสื่อสารหลักระดับสากล  
      
    “ดูเหมือนว่าภาษาอังกฤษได้กลายเป็นทักษะสำคัญสำหรับการสื่อสารธุรกิจในทุกบทบาทหน้าที่” คุณไซมอนกล่าว “ในประเทศต่างๆ เช่น ประเทศไทย ซึ่งมีแรงงานในพื้นที่อันเข้มแข็ง การปฏิสัมพันธ์ระหว่างแผนกต่างๆ ล้วนจำเป็นต้องอาศัยความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างมาก” 
      
    ในยุคที่ธุรกิจระดับโลกเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้นและพรมแดนหมดความสำคัญลง แรงงานจำนวนมากเริ่มตระหนักว่า ภาษาอังกฤษมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาอาชีพ ดังเห็นได้จากงานวิจัยของ Pearson ที่พบว่า พนักงานกว่า 9 ใน 10 คน ยอมรับว่าเรื่องดังกล่าวมีความสำคัญ ส่วนตัวเลขที่เหลือซึ่งน้อยกว่า 1 ใน 10 นั้นเห็นว่า ความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่มีถือว่าเพียงพอแล้วกับตำแหน่งงานของตน นี่จึงถือเป็นช่องว่างทางทักษะอันสำคัญที่ควรใส่ใจ เพราะความชำนาญด้านภาษายังถือเป็นหัวใจในการขัดเกลาทักษะด้านอารมณ์หลายเรื่อง 
      
    “ทักษะด้านภาษาเพียงอย่างเดียวไม่ช่วยให้คุณได้งาน แต่คุณจะมีโอกาสถูกว่าจ้างมากยิ่งขึ้นหากมีทักษะด้านภาษา เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยในการพัฒนาทักษะอื่นๆ อีกหลายด้าน [เช่น การสื่อสารและการทำงานร่วมกัน] อันจำเป็นต่อการจ้างงาน” คุณสจ๊วตกล่าว “หากคุณเป็นคนเวียดนามหรือคนไทย และสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ นั่นหมายถึงคุณก็มีทักษะด้านอารมณ์อีกหลายเรื่องไปโดยปริยาย”

     

    read more