• พอดแคสต์: ตอนที่ 10 — การต่อยอดอาชีพของคุณในอนาคตและคุณค่าของโอกาสที่จะได้รับการว่าจ้าง 

    ยินดีต้อนรับสู่พอดแคสต์ Art of Learning ตอนที่ 10 
     
    เราได้รับเกียรติจากคุณ Stuart Connor ผู้อำนวยการฝ่ายคุณวุฒิและการประเมินของ Pearson Asia และคุณ Anisa Zulfiqar ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ PCTA ของ Pearson Asia ที่จะมาสนทนาเกี่ยวกับการต่อยอดอาชีพในอนาคตของผู้เรียน ความสำคัญของโอกาสที่จะได้รับการว่าจ้าง และอื่นๆ อีกมากมาย 
     
    เราสำรวจถึงความหมายของโอกาสที่จะได้รับการว่าจ้างและเหตุใดโอกาสที่จะได้รับการว่าจ้างจึงกลายเป็นแนวคิดที่สำคัญ (1:18) การมุ่งเน้นที่โอกาสที่จะได้รับการว่าจ้างในช่วงเศรษฐกิจถดถอย (3:14) ผู้เรียนในปัจจุบันนั้นขาดทักษะที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เหมาะกับเศรษฐกิจยุคใหม่หรือไม่ (4:02) ทักษะที่เป็นที่ต้องการและการที่ทักษะเหล่านั้นพัฒนาและจำเป็นในทุกอุตสาหกรรม (7:01) ความเร็วของการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมส่งผลต่อความต้องการทักษะแห่งอนาคตอย่างไร (9:47) การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทำให้การปิดช่องว่างของทักษะในไทยและเวียดนามมีความสำคัญขึ้นหรือไม่ (11:53) คำแนะนำในการต่อยอดอาชีพในอนาคตสำหรับผู้เรียน (16:08) สิ่งที่นักการศึกษาในไทยและเวียดนามสามารถทำได้เพื่อเตรียมผู้เรียนให้พร้อมสำหรับการทำงาน (18:16) การศึกษาแบบ Pearson ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับผู้เรียนอย่างไร (20:38) และอีกมากมาย 

    read more
  • พอดแคสต์: ตอนที่ 9 — การทำความเข้าใจเส้นทางต่างๆ ในการเข้าสู่การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย

    podcast

    ยินดีต้อนรับสู่ตอนที่ 9 ของพอดแคสต์ Art of Learning  

    แขกรับเชิญในครั้งนี้ของเราคือคุณ Simon Young ผู้อำนวยการฝ่ายดูแล BTEC ในเอเชียของ Pearson ที่จะมาพูดคุยเกี่ยวกับเส้นทางต่างๆ เพื่อก้าวสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษา  

    เราเริ่มต้นพอดแคสต์ตอนนี้ด้วยการพูดคุยถึงคุณค่าของการคิดนอกกรอบ เมื่อพิจารณาถึงโอกาสด้านการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา (0:59) ภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของอาชีวศึกษา (7:15) จากนั้นมาสำรวจกันว่า ความต้องการของเศรษฐกิจยุคใหม่กำลังเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีต่อรูปแบบที่เป็นทางเลือกในการศึกษาต่ออย่างไร (11:32) คุณวุฒิ BTEC ของ Pearson สามารถนำไปสู่การจ้างงานเต็มเวลา หรือเปิดเส้นทางสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษาได้อย่างไร (15:35) หลักสูตร BTEC ยอดนิยม (20:34) แนวโน้มของการศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอื่นๆ อีกมากมาย (23:26)  

    read more
  • เคล็ดลับในการสอน PTE Academic

    article

    การสอนหลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบอาจเป็นเรื่องท้าทาย โดยเฉพาะการสอบที่มีความสำคัญมากสำหรับนักเรียน เช่น PTE Academic แต่การสอน PTE Academic จะไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอีกต่อไป หากมีการเตรียมความพร้อมและทำความคุ้นเคยกับโครงสร้างของการสอบที่เพียงพอ อันที่จริงแล้ว การสอนนี้เป็นประสบการณ์การเรียนการสอนที่คุ้มค่าที่สุดอย่างหนึ่งในฐานะผู้สอน 

    แล้ววิธีที่ดีที่สุดในการเตรียมตัวให้นักเรียนพร้อมสำหรับการสอบ PTE Academic คืออะไร ในการเตรียมตัวให้นักเรียนมีความพร้อมสำหรับการสอบนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของ PTE Academic เป็นอย่างดี

    เรามีแหล่งข้อมูลที่คุณสามารถใช้เพื่อทำความคุ้นเคยกับการสอบและทำให้แน่ใจว่านักเรียนได้คะแนนตามที่ต้องการ มีชุดวิดีโอ เกี่ยวกับคำถามที่พบบ่อย ซึ่งจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความสำคัญของการเตรียมความพร้อม ชุดทักษะที่จำเป็นที่ใช้ในการสอบ และแม้แต่บทบาทของอัลกอริทึมในกระบวนการให้คะแนนของ PTE Academic โดยเฉพาะ

    ฟัง: ตอนที่ 3 — การเตรียมความพร้อมสำหรับ PTE Academic และเหตุผลที่คุณควรลืม IELTS ไปซะและสนุกกับชีวิต

    นอกจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลสำหรับผู้สอนเพิ่มเติม ซึ่งช่วยให้คุณมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับวิธีการสอน PTE Academic และวิธีการเตรียมตัวให้นักเรียนพร้อมสำหรับวันสอบ เมื่อคุณสร้างฐานความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของ PTE Academic แล้ว กิจกรรมที่มีประโยชน์อีกอย่างหนึ่งก็คือการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการให้คะแนนและวิธีการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์ (CBT)

    มีแหล่งข้อมูลที่มีเนื้อหามากมายซึ่งแสดงให้เห็นถึงพลัง ประสิทธิภาพ และความเป็นธรรมของอัลกอริทึม และเทคโนโลยีการให้คะแนนอัตโนมัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ PTE Academic ต่างจากการประเมินด้วยกระดาษ

    read more
  • 10 อันดับทักษะที่สามารถถ่ายทอดได้สำหรับอาชีพในศตวรรษที่ 21

    ในอินโฟกราฟิกนี้ เราจะสำรวจทักษะที่สามารถถ่ายทอดได้ที่สำคัญที่สุดที่นายจ้างทั่วโลกต้องการ  

    ค้นพบทักษะที่คุณจำเป็นต้องมีเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้รับการจ้างงานและเพิ่มแนวโน้มที่คุณจะก้าวหน้าในอาชีพการงาน 

    read more
  • ก้าวสู่อาชีพระดับโลกด้วย BTEC

    image

    ตลาดงานกำลังแข่งขันกันมากขึ้นเรื่อยๆ และนายจ้างล้วนต้องการ 


    ผู้ที่มีทักษะเฉพาะด้าน  เรื่องนี้จะส่งผลต่อแรงงานในอนาคตอย่างไร การสร้างความมั่นใจถึง การมีคุณวุฒิที่เพิ่มโอกาสที่จะได้รับการว่าจ้างคือกุญแจสำคัญ  

    ตัวอย่างเช่น คุณวุฒิของ BTEC เปิดประตูสู่อาชีพที่ทรงคุณค่าในด้าน STEM สุขภาพ กีฬา ธุรกิจ ไอที ความคิดสร้างสรรค์ และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อให้คุณประกอบอาชีพที่ต้องการได้ด้วยทักษะที่นายจ้างในยุค ปัจจุบันต้องการ   

    ในอินโฟกราฟิกนี้ เราได้อธิบายวิธีสร้างความได้เปรียบและการก้าว สู่อาชีพระดับโลกด้วย BTEC 

    read more
  • พอดแคสต์: ตอนที่ 4 — ก้าวไปในระดับโลกกับ PTE Academic

    image

    ขอต้อนรับสู่พอดแคสต์ศิลปะแห่งการเรียนรู้ตอนที่ 4 สนับสนุนโดย Pearson Asia  

    วันนี้เราได้รับเกียรติจากคุณอริสา มัทนาน้อย ซึ่งเป็นนักเรียนของ Pearson และ PTE Academic ปัจจุบันศึกษาในสาขาวิชาด้านผู้ประกอบการและนวัตกรรม ภายใต้หลักสูตรสองปริญญาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) และมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล (UON)  

    เนื้อหาในตอนนี้จะเจาะลึกภูมิหลังที่น่าสนใจของคุณอริสาและความรักด้านการเรียนภาษา (0:53) ความคาดหวังด้านอาชีพและนักธุรกิจชั้นนำผู้เป็นแรงบันดาลใจ (2:35) คุณค่าของความชำนาญภาษาอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (5:14) เหตุผลที่เลือกทดสอบทักษะภาษาอังกฤษกับ PTE Academic ของ Pearson (6:00) คำแนะนำและเคล็ดลับในการสอบ PTE Academic (8:05) เจาะลึกหลักสูตรสองปริญญา (9:16) และเป้าหมายในอนาคต (12:27) 

    read more
  • โลกของการทำงานกำลังเปลี่ยนไป ทักษะใดที่คุณควรต้องมีเพื่อให้ถูกว่าจ้าง

    โลกของการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โลกาภิวัตน์ ระบบอัตโนมัติ และความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี กำลังมอบโอกาสให้แก่แรงงานในอนาคต ขณะเดียวกันก็เป็นความท้าทายที่ต่างไปจากเดิมสำหรับนายจ้างทั่วโลก ภายใต้สถานการณ์ที่เรากำลังก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4  

    ขณะที่เหล่าผู้นำธุรกิจกำลังควบคุมกิจการเพื่อปรับตัวรับกระแสการเปลี่ยนแปลง แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายรายมองว่า เราเพิ่งกำลังอยู่ในช่วงต้นของการไขว่คว้าความเป็นไปได้ที่ความล้ำหน้าต่างๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลกำลังจัดระเบียบการทำงานยุคใหม่

    ทักษะอันเป็นที่ต้องการของบริษัทระดับโลกอาจถูกแบ่งตามบริบทได้สองส่วน คือ ทักษะด้านอารมณ์และทักษะด้านความรู้ ซึ่งแม้ทักษะเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ถือเป็นเรื่องสำคัญในยุคปัจจุบันที่ผู้เรียนต้องไขว่คว้าเพื่อเพิ่มโอกาสการถูกว่าจ้าง และท้ายสุดเพื่อเตรียมกรอบการทำงานอันนำไปสู่เส้นทางอาชีพที่ประสบความสำเร็จ 

    ทักษะด้านอารมณ์และทักษะด้านความรู้คืออะไร? 

    ทักษะด้านอารมณ์หรือทักษะทางสังคม (soft skills) จัดเป็นทักษะระหว่างบุคคลหรือลักษณะอุปนิสัยที่สำคัญ ที่ช่วยให้เรามีความสามารถในการจัดการงานจนสำเร็จได้ในระดับสูง อาทิ ทักษะความเป็นผู้นำ การร่วมมือ การคิดเชิงวิพากษ์ และการแก้ไขปัญหา ส่วนทักษะด้านความรู้ (hard skills) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ทางเทคนิค เช่น ทักษะการนำเสนองาน ทักษะการบริหารโครงการ หรือเรื่องการอ่านและเขียน 

    คุณสจ๊วต คอนเนอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายคุณวุฒิและการประเมินของ Pearson Asia กล่าวว่า ทักษะเด่นอันเป็นที่ต้องการมีอยู่หกด้านด้วยกัน ซึ่งบรรดานายจ้างระดับโลกต่างมองหาทักษะเหล่านี้อย่างเข้มข้นเมื่อมีการเปิดรับพนักงานใหม่ โดยประกอบด้วย: 

    • ความเข้าใจด้านดิจิทัล - ความสามารถในการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีที่มี 
    • ทักษะการขาย - ความสามารถในการสร้างสัมพันธ์และจูงใจผู้อื่น 
    • การวิเคราะห์ข้อมูล - ความสามารถในการตีความข้อมูลเพื่อการตัดสินใจอย่างเหมาะสม 
    • การสื่อสาร - ความสามารถในการร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างวัฒนธรรม พื้นที่ และภาษา 
    • การเรียนรู้อย่างว่องไว - ความสามารถในการเรียนรู้ ไม่ยึดติดกับความรู้เดิม เรียนรู้ด้วยมุมมองใหม่ และสามารถประยุกต์การเรียนรู้ได้จริง 
    • นวัตกรรม - ความสามารถในการรู้แจ้งและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง 

    คุณสจ๊วตมองว่า ปัญญาประดิษฐ์จะสร้างผลกระทบเพิ่มขึ้นอย่างมากต่อวาระแรงงานระดับโลก ดังนั้นการก้าวนำไปข้างหน้าก่อนใครจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้เรียนในปัจจุบัน  

    "แรงงานที่ใช้เทคโนโลยีได้ดีจะมีความได้เปรียบ และมีข้อมูลบ่งชี้ว่า บริษัทต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ จะมีผลิตภาพสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้ถึง 12 เปอร์เซ็นต์ เพราะสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์จริงในสาขาของตน ซึ่งความสามารถในการใช้เทคโนโลยีถือเป็นกุญแจสำคัญ ดังนั้นนายจ้างจึงต้องการว่าจ้างบุคคลที่มีทักษะดังกล่าว" 

    ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางการสื่อสารระดับโลกจริงหรือไม่? 

    คุณไซมอน ยัง ผู้จัดการฝ่ายดูแล BTEC ในเอเชียของ Pearson ระบุว่า ในยุคปัจจุบันที่ห่วงโซ่อุปทานและฐานลูกค้ามีความเป็นสากลระดับโลกอย่างแท้จริง บริษัทข้ามชาติต่างมองว่าความชำนาญภาษาอังกฤษถือเป็นทักษะสำคัญ 

    "ดูเหมือนว่าภาษาอังกฤษได้กลายเป็นทักษะสำคัญสำหรับการสื่อสารธุรกิจในทุกบทบาทหน้าที่ ดังนั้นในประเทศต่างๆ เช่น ประเทศไทย ซึ่งมีแรงงานในพื้นที่อันเข้มแข็ง การปฏิสัมพันธ์ระหว่างแผนกต่างๆ ล้วนจำเป็นต้องอาศัยความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างมาก กล่าวได้ว่าภาษาอังกฤษได้กลายเป็นสื่อกลางการสื่อสารระดับโลก" 

    นอกจากทักษะต่างๆ ที่ธุรกิจทั่วโลกต้องการ หน่วยงานภาครัฐทั้งในไทยและเวียดนามต่างเร่งออกนโยบายจำนวนมากตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาความชำนาญภาษาอังกฤษให้แรงงานรุ่นใหม่  

    เพราะความสามารถเหล่านี้ช่วยดึงดูดการลงทุนทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น การบังคับใช้นโยบายต่างๆ ดังกล่าว สื่อได้ว่าทั้งรัฐบาลไทยและเวียดนามต่างเล็งเห็นคุณค่าของการเรียนภาษา ว่าเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จทางวิชาชีพ เช่นเดียวกับมุมมองของนายจ้างระดับโลก 

    คุณสจ๊วตกล่าวว่า ทักษะภาษาอังกฤษช่วยเสริมความสามารถของทักษะด้านอารมณ์ที่นายจ้างต้องการในหลายทาง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความสามารถส่วนบุคคลและทางสังคม เช่น การร่วมมือ การสร้างเครือข่าย และการเข้าใจผู้อื่น  

    ขณะที่ลูกจ้างมองว่าความชำนาญภาษาอังกฤษมีส่วนสำคัญในความก้าวหน้าทางอาชีพ แต่คุณสจ๊วตกล่าวว่า แรงงานคลื่นลูกใหม่ยังมีภารกิจที่ต้องจัดการและยังมีคุณประโยชน์รออยู่ภายหน้าอีกมาก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการฟูมฟักทักษะภาษาอังกฤษของตน 

    "จากการสำรวจของ Pearson เมื่อปี 2015 ซึ่งสอบถามลูกจ้างข้ามชาติกว่า 26,000 คน พบว่า กว่า 92 เปอร์เซ็นต์ เล็งเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษที่มีต่อความก้าวหน้าทางอาชีพ แต่มีเพียง 7% เท่านั้นที่มั่นใจว่าตนเองสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือเป็นช่องว่างที่กว้างมาก 

    "แต่หนึ่งในคุณประโยชน์หลักของการมีความชำนาญภาษาที่สองก็คือ การช่วยขัดเกลาทักษะด้านอารมณ์ในหลายส่วน" ทักษะภาษาเพียงอย่างเดียวไม่ช่วยให้คุณได้งาน แต่คุณจะมีโอกาสถูกว่าจ้างมากยิ่งขึ้นหากมีทักษะภาษา เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยในการพัฒนาทักษะอื่นๆ อีกหลายด้าน อันจำเป็นต่อการจ้างงาน เมื่อนายจ้างคำนึงถึงช่องว่างของทักษะด้านอารมณ์ เช่น การสื่อสารและการร่วมมือ ความรู้ทางภาษาเพิ่มเติมจะมีประโยชน์อย่างมาก 

    "หากคุณเป็นคนเวียดนามหรือคนไทย และสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ นั่นหมายถึงคุณก็มีทักษะด้านอารมณ์อีกหลายเรื่องไปโดยปริยาย" 

    read more